วิเคราะห์เพลงคลาสสิค 2022 การประพันธ์ดนตรีที่ไม่สมบูรณ์แบบ

บทความโดย ผศ.นรเศรษฐ์ อุดาการ 

Asst.Prof. Norrasate Udakarn

The College of Music, Payap University

 

วิเคราะห์เพลงคลาสสิค 2021 การประพันธ์ดนตรีที่ไม่สมบูรณ์แบบ

หากเราลองพิจารณา พินิจ วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของผลงานทางดนตรี การประพันธ์ หรือการแสดงต่าง ๆ เราจะพอขะได้รายละเอียดและข้อมูล ซึ่งไม่ว่าคุณจะยิบจับหรือเลือกงานศิลป์ทางเสียงชิ้นใดก็ตามมากล่าวถึงในเชิงความงดงาม ในแง่ของความนิยม หรือในแง่ของความชอบนั้น ไม่ว่าจะเป็นผลงานชิ้นใด ของนักประพันธ์ท่านใดก็ตาม เราจะพบว่าแท้จริงแล้วผลงานทั้งหมดต่างมีความงดงามและมีคุณค่าในตัวเองทุกชิ้น ซึ่งในทางกลับกัน ผลงานเหล่านั้นทุกชิ้นเช่นเดียวกัน ก็จะมีแง่มุมที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากเหล่านักวิเคราะห์ นักวิจารณ์ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีข้อผิดพลาดต่าง ๆ มากมาย จนลามไปถึงการตั้งคำถามถึงความสมบูรณ์แบบของผลงานชิ้นนั้น และในท้ายที่สุดก็จะมีการฟันธงว่าผลงานเหล่านั้นก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบอย่างที่คิด เอ้า . .! ในเมื่อมีคำกล่าวในลักษณะนี้ แล้วสรุปอะไรคือ ดนตรีที่สมบูรณ์แบบล่ะ!?

 

วิเคราะห์เพลงคลาสสิค 2021 การประพันธ์ดนตรีที่ไม่สมบูรณ์แบบ

“Beethoven’s Symphony no.9”

ด้วยความยิ่งใหญ่และความนิยมของบทเพลง Symphony no.9 in D minor, Op.125 ของ Ludwig van Beethoven (1770 – 1827) ที่สร้างความประทับใจสำหรับหลายท่านที่เคยรับฟังหรือแม้แต่บางท่านอาจจะเคยร่วมบรรเลงบทเพลงนี้มานับครั้งไม่ถ้วนในฐานะนักดนตรีประจำวงซิมโฟนีออร์เคสตรา และเมื่อลองสืบค้นข้อมูล เราจะพอทราบดีว่าบทเพลงนี้ ต่างถูกยกให้เป็นหนึ่งในบทเพลงที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบทเพลงคลาสสิกที่มีชื่อเสียงและมีการนำกลับมาบรรเลงมากที่สุดเพลงหนึ่งของโลก แต่น้อยคนนักที่จะทราบรายละเอียดในอีกมุมและข้อมูลบางประการของบทเพลงนี้ ว่าในอดีตเมื่อครั้งถูกนำออกแสดงในครั้งแรก ๆ กระแสการวิจารณ์และการตอบรับนั้น ไม่ค่อยสู้ดีเท่าที่ควร

จากบทวิจารณ์ของ “Harmonicon” หนังสือพิมพ์สัญชาติอังกฤษในปี 1825 เคยมีการเขียนวิพากษ์วิจารณ์บทเพลง Symphony no.9 บทเพลงนี้ของ Beethoven เมื่อครั้งที่ถูกนำมาแสดงที่กรุงลอนดอนในทางลบ ซึ่งได้ความว่า “a frightful period indeed, which puts the muscles and lungs of the hand, and the patience of the audience to a severe trial”  และแม้ว่าจะเป็นเพียงความเห็นของนักวิจารณ์ซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัว ประกอบกับภายหลัง The Philharmonic Society ได้ออกมาชี้แจงและให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า คำวิจารณ์นั้นเป็นข้อผิดพลาดและเป็นความเข้าใจผิดที่เกิดจากเหตุการณ์ที่ผู้เขียนนั้นต้องเข้าชมการแสดงของ Symphony no.9 นี้ถึง 2 รอบด้วยกัน ดังนั้นผลการวิจารณ์จึงออกมาในลักษณะดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามด้วยบทวิจารณ์นี้ จึงทำให้เราพอจะมองเห็นว่า แม้จะเป็นผลงานชิ้นเอกของโลก แต่ก็ยังไม่วายมีประเด็นให้ต้องตั้งคำถามในความสมบูรณ์แบบ

ในการศึกษาเปรียบเทียบผลงานด้านดนตรีหลายครั้ง เราไม่อาจที่จะมองผลงานนั้น ๆ เพียงแต่ด้านเดียว เพราะดนตรีเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น และในเมื่อดนตรีเป็นผลงานของสิ่งมีชีวิต บางครั้งดนตรีก็เลยกลายเป็นสิ่งที่มีชีวิตไปด้วย และเช่นเดียวกันในเมื่อมนุษย์เองก็ไม่มีทางสมบูรณ์แบบ แล้วดนตรีจะสมบูรณ์แบบได้อย่างไร ?

 

“Ratatouille”

ในที่นี้เราเชื่อว่าหลายท่านคงจะเคยชมภาพยนต์ animation เรื่องดังจากค่าย Pixar อย่างเรื่อง “Ratatouille” ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับโลกของการทำอาหาร ที่มีความคล้ายคลึงกับการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี ที่แม้จะเป็นภัตตาคาร ร้านอาหารที่ใหญ่โตหรูหรา หรือจะเป็นร้านอาหารข้างถนน ไม่ว่าอาหารรถเลิศนั้นจะสันสร้างโดยเซฟในตำนานอย่าง Gusteau หรือปรุงขึ้นจากฝีมือเจ้าหนูตัวน้อยอย่าง Remy  ก็สามารถเป็นอาหารที่ทรงคุณค่า รสชาติพิเศษได้ทุกเมนู ซึ่งไม่ต่างจากอาหารสุดแสนจะธรรมดาอย่าง “Ratatouille” ที่ Remy ปรุงขึ้นสำหรับนักชิมและนักวิจารณ์อาหารสุดเย็นชาอย่าง Ego โดยเฉพาะในตอนท้ายเรื่อง และแม้ว่าจะเป็นอาหารจานที่แสนจะเป็นเมนูธรรมดา ๆ แต่กลับสร้างความประทับใจให้กับนักชิมท่านนี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะท้ายที่สุดแล้วอาหารจานธรรมดาจานหนึ่งก็สามารถเป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบสำหรับคนคนหนึ่งได้เพราะคุณค่าที่มี นั้นมากกว่าความสมบูรณ์แบบมากนัก

 

วิเคราะห์เพลงคลาสสิค 2021 การประพันธ์ดนตรีที่ไม่สมบูรณ์แบบ

Chiangmai Symphony Orchestra (CPO)

ที่จังหวัดเชียงใหม่ เรามีวงออร์เครสตรากึ่งอาชีพอยู่หนึ่งวง โดยเป็นวงที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของนักดนตรี อาจารย์สอนดนตรี ครูดนตรี นักเรียนนักศึกษา นักดนตรีอิสระและยังรวมไปถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ แต่มีความปราถณาที่จะร่วมกันเล่นดนตรีจากหลายสถาบัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นวงดนตรีที่เริ่มจาก “ใจ” และร่วมกับบรรเลงด้วย “แรงใจ” ซึ่งมีมากมายกว่าพลังเงินและทำให้วง CPO สามารถสร้างเสียงดนตรีคลาสสิกที่เป็บเอกลักษณ์ในรูปแบบของ “Chiangmai Sound” มากว่า 15 ปี ดังนั้นเมื่อเริ่มจาก “ใจ” จึงไม่มีข้อผูกมัด ใครจะไปใครจะมา มาซ้อมบ้างไม่มาซ้อมบ้าง ก็สามารถร่วมกันเล่นและบรรเลงออกมาเป็นการแสดงคอนเสิร์ตคลาสสิกได้อย่างต่อเนื่อง และแม้จะไม่มีองค์ประกอบครบถ้วน ระดับความสามารถของผู้เล่นอาจจะไม่สูงมากนัก เครื่องดนตรีที่จำเป็นต้องมีอาจจะไม่ครบทุกชิ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคือ ทุกคนร่วมกับเล่น ร่วมกันบรรเลงบทเพลงคลาสสิกชิ้นใหญ่ ๆ มากมายหลากหลายงานประพันธ์ โดยต่างมองข้าม “ความสมบูรณ์แบบ” เพราะถ้าเรารอให้วงสมบูรณ์แบบ ชาตินี้ทั้งชาติก็ไม่สามารถมีโอกาสได้เล่นกันเป็นแน่

เพราะความสมบูรณ์แบบ คืออะไร . . .? หลายท่านคงเริ่มพอจะได้ไอเดีย ว่าในชีวิตและในสังคมมนุษย์ แม้ว่าเราต่างให้ความพยายามในการแสวงหาความสมบูรณ์แบบ แต่เราก็ไม่เคยได้พบเจอความสมบูรณ์นั้นสักที ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความสมบูรณ์แบบที่ว่า ไม่เป็นสากลและอาจจะไม่มีอยู่ในความเป็นจริง ซึ่งไม่สามารถใช้คำนิยามเดียวเพื่ออธิบายคุณค่า ความงดงามและความสวยงามของทุกสิ่งได้นั่นเอง ดังนั้น การแสดงบทเพลงคลาสสิกของวงออร์เคสตราท้องถิ่นอาจจะเป็นการแสดงที่สมบูรณ์แบบสำหรับวงออร์เคสตราวงนั้น ซึ่งย่อมมีความแตกต่างไปจากการแสดงบทเพลงเดียวกันโดยวงออร์เคสตราระดับโลก เพราะ ดนตรีที่ไม่สมบูรณ์แบบ . . . .ก็สามารถเป็นดนตรีที่ดีที่สุดได้สุดแล้วแต่สถานการณ์นั้น ๆ นั่นเอง

อ้างอิง 1 2

 

The Pappyness