จากผลกระทบที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจหรือผลสืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลให้ ณ เวลานี้ ยังคงมีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวและปรับตัวสำหรับอนาคต ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ BOT จึงพร้อมนำเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือภายใต้ พ.ร.ก.ฟื้นฟู ด้วยสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสำหรับ SMEs หรือกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมให้สามารถปรับตัวและรับกับ New Normal ซึ่งจะต้องตอบรับกับพัฒนาในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต ดังนั้นในส่วนต่อจากนี้ เราจึงมาพร้อมกับบทความสาระที่จะนำเสนอรายละเอียดและข้อมูลของสินเชื่อฟื้นฟู bot ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ด้วยสินเชื่อเพื่อการปรับตัว
สินเชื่อเพื่อการปรับตัว BOT
สินเชื่อเพื่อการปรับตัว เป็นสินเชื่อฟื้นฟู bot ภายใต้มาตรการพระราชกำหนดฟื้นฟูสำหรับช่วงสถานการณ์โควิด 19 เพื่อเร่งให้เกิดการปรับตัวเข้าสู่บริบทโลกใหม่ หรือที่หลายท่านรู้จักในศัพท์คำว่า “New Normal” ทั้งนี้สินเชื่อเพื่อการปรับตัวนั้น จะมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถดำเนินการปรับตัวและฟื้นฟูธุรกิจของตนเองให้สอดรับกับพฤตกรรมของผู้บริโภคและทิศทางตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ตามมาตรการทางการเงินในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition period ปี 65 – 66) สำหรับโลกใหม่ที่ไปมาถึงแล้ว
วัตถุประสงค์สินเชื่อเพื่อการปรับตัว
สินเชื่อเพื่อการปรับตัวนั้น สมชื่อการเป็นสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูเพราะรายการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวนั้น จะมุ่งเน้นให้การสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้ประคับประคองกิจการในผ่านพ้นช่วงวิกฤตของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ไปได้ ทั้งนี้สินเชื่อเพื่อการปรับตัวนี้จะให้ธุรกิจรายย่อย ให้เข้าถึงแหล่งทุนซึ่งมีวงเงินขนาดเหมาะสมกับความต้องการในการลงทุน ปรับปรุง พัฒนาและเสริมศักยภาพธุรกิจ ภายใต้รูปแบบการปรับตัว 3 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้
- กระแสดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Technology)
- การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green)
- นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation)
ทั้งนี้รายละเอียดปลีกย่อยของการปรับตัวที่จะทำให้ SMEs นั้นจะได้รับการพิจารณาสินเชื่อเพื่อการปรับตัวนั้น จะต้องเป็นไปตามประเด็นสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง ภายใต้ 3 ประเด็นสำคัญ โดยสามารถยกตัวอย่างการปรับตัวต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนี้
กระแสดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Technology)
ประเด็นแรก ธุรกิจรายย่อยที่จะได้รับการพิจารณาสินเชื่อเพื่อการปรับตัวนั้นสามารถดำเนินการในประเด็นดิจิทัลเทคโนโลยี คือ สามารถปรับใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริการจัดการธุรกิจ หรือใช้สำหรับการลงทุนระบบการทำงานอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์สำหรับใช้ในการปรับกระบวนการผลิตและการบริการ
การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green)
ธุรกิจรายย่อยสามารถรับการพิจารณาสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสำหรับ การลงทุนในระบบประหยัดพลังงาน หรือ ปรับพลังงานทดแทน พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน หรือการลงทุนพัฒนาออกแบบสินค้าและบริการตลอดจนอุปกรณ์หรือระบบเพื่อการผลิตการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบ Zero Waste และยังสามารถนำสินเชื่อเพื่อการปรับตัวไปใช้สำหรับลงทุนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อรองรับการขยายตัวของยานยนต์ไฟฟ้า หรือพลังงานสะอาด
นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation)
SMEs สามารถรับวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับตัวและนำไปใช้ในการลงทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เสริมความสามารถในการแข่งขันและความมั่นคงของธุรกิจ ลงทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตสมัยใหม่ หรือ ในเงินจากสินเชื่อฟื้นฟู bot เพื่อลงทุนในอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยและปลอดภัยเพื่อปรับรูปแบบธุรกิจสู่ High – Value Service
คุณสมบัติสินเชื่อเพื่อการปรับตัว
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติสำหรับทุกท่านที่มีความสนใจและต้องการยื่นสมัครสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ดังนี้
- เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- เป็น SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใด ๆ เลย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่นับรวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภค เช่น วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อ อื่นๆ เว้นแต่ เป็นวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ
- ต้องไม่เป็นลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
- ต้องไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
- ต้องไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
รายละเอียดละเอียดอื่น ๆ
สินเชื่อเพื่อการปรับตัวรายการนี้ จะออกสินเชื่อให้ทุกท่านได้ในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี แต่หากประสงค์จะขอวงเงินสินเชื่อที่ยาวนานกว่านั้น ผู้ประกอบการจะต้องตกลงกับสถาบันการเงินเป็นรายกรณีไป โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทั้งหมดจะเป็นการดำเนินการนโยบายสินเชื่อเพื่อการปรับตัวโดยธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ในส่วนของการปฏิบัตินั้น จะเป็นในส่วนของธนาคารอื่น ๆ ดำเนินการออกสินเชื่อเพื่อการปรับตัวเพื่อสอดรับกับนโยบาย ซึ่งมีธนาคารที่เข้าร่วมโครงการดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารกรุงศรี
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารเกียรตินาคิน
- ธนาคารไทยเครดิต
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคาร UOB
- ธนาคาร Land and House
- ธนาครออมสิน
- ธนาคารอิสลาม
- ธนาคาร ICBC
ทั้งนี้ ในส่วนของการสมัครและการติดต่อสอบถามรายละเอียดนั้น ทุกท่านจะต้องรอติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมจากธนาคารผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว โดยจะต้องเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่เราได้นำเสนอรายชื่อไป และต้องแจ้งในทุกท่านทราบเพิ่มเติมว่า ทางธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นจะไม่มีนโยบายในการออกสินเชื่อเพื่อการปรับตัวให้ SMEs โดยตรง ดังนั้นประเด็นทุกท่านจะต้องติดต่อกับธนาคารรายย่อยเท่านั้น และให้ระมัดระวังการแอบอ้างของกลุ่มมิจฉาชีพที่กำลังจ้องเข้ามาหลอกล้อในประเด็นของสินเชื่อฟื้นฟู bot และสินเชื่อเพื่อการปรับตัวอยู่ในเวลานี้
และสำหรับท่านที่ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อการปรับตัวนั้น ทุกท่านสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดของสินเชื่อและมาตรการให้ความช่วยเหลือทั้งหมดได้ ที่นี่ โดยจะเป็นข้อมูลที่นำเสนอไว้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
อ้างอิง 1
