ไม่เพียงเฉพาะแอพดูดเงินหรือการโทรเข้ามาเพื่อหลอกลวงผู้ให้บริการทางโทรศัพท์มือถือ แต่เวลานี้ เหล่ามิจฉาชีพที่จ้องจะดูดเงินในบัญชีของทุกท่านสามารถใช้กลวิธีที่แนบเนียนด้วยการส่งข้อความหรืออีเมลดูดเงินด้วยเช่นกัน ดังนั้น จากข้อมูลใหม่ล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย เราจึงมาเปิดโปงวิธีดูดเงินจากบัญชีของเหล่าโจรออนไลน์ และพร้อมด้วยแนวทางป้องกันให้ทุกท่านนำไปใช้ได้ไม่ยาก
ส่งอีเมลปลอมให้กดลิ้งก์
กลโกงมิจฉาชีพดูดเงินในบัญชีเรียกได้ว่าเป็นกลวิธีที่คล้ายคลึงกับการหาเงินออนไลน์ถูกกฎหมายอย่าง การสร้างคอนเทนต์ บทความเพื่อให้ทุกท่านเข้าไปกด “คลิก” และหาเงินออนไลน์ได้จากค่าส่วนแบ่งโฆษณา ซึ่งกลโกงสำคัญที่เหล่ามิจฉาชีพดูดเงินในบัญชีใช้นั้น จะเป็นการจัดส่งข้อความหรืออีเมล (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) ไปยังที่อยู่อีเมลของท่าน ซึ่งอาจจะได้รับมาจากการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการฝากไว้ในระบบต่าง ๆ โดยสิ่งสำคัญที่จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือแก่ทุกท่านในลำดับแรก ๆ นั้น คือการตั้งชื่ออีเมลต้นทาง ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่มีความสอดคล้องกับชื่อธนาคาร/ การให้บริการต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นของธนาคารและสาถบันการเงิน โดยการดำเนินการเหล่านั้น มิจฉาชีพดูดเงินในบัญชีของท่านมักจะดำเนินการ ตามตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น
- ตั้งชื่อผู้ส่งเป็น com หรือเป็นชื่อธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ แต่ในความเป็นจริงเป็นเพียงการตั้งชื่อเท่านั้น แต่อีเมลปลายทางเป็น อีเมลดูดเงินที่ใช้ที่อยู่อื่น
- ส่งอีเมล โดยใช้ประเด็นหรือหัวข้อที่ทำให้ผู้รับรู้สึกหวาดกลัว/ ตกใจ หรือเกร็งว่าจะเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายต่าง ๆ
ทั้งนี้ หากท่านเป็นผู้ที่ได้รับอีเมลดูดเงินเหล่านี้ ให้ท่านดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและรายละเอียดทั้งหมดให้ดีเสียก่อน หลังจากนั้นให้ดำเนินการติดต่อธนาคารซึ่งท่านดำเนินธุรกรรม หรือมีบัญชีที่มีการกล่าวถึงในอีเมล เพื่อตรวจสอบรายละเอียดและความถูกต้องอีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเป็นการตรวจสอบซ้ำสองเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพดูดเงินในบัญชีของท่านได้ง่าย ๆ ตามรายละเอียดและภาพประกอบการเตือนภัยมิจฉาชีพดูดเงินในบัญชีของท่าน ดังนี้
วิธีป้องกันอีเมลดูดเงิน
จากข้อมูลและรายละเอียดที่เราได้รับจากเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและข้อมูลเพิ่มเติมของผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันภัยอีเมลดูดเงินและแอปดูดเงินนั้น พบว่าทุกท่านสามารถดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นได้ทันทีด้วยตัวท่านเอง โดยมีแนวทางในการดำเนินการดังต่อไปนี้
- ตรวจสอบด้วยการดูที่อยู่อีเมลจริง ๆ ของอีเมลดูดเงินนั้น ๆ ที่ส่งเข้ามา โดยให้นำเม้าส์ไปวางใกล้ ๆ ชื่อของผู้ส่งสักระยะเวลาหนึ่งประมาณ 2 – 3 วินาที หลังจากนั้น ที่อยู่อีเมลที่แท้จริงจะแสดงขึ้น ซึ่งหากชื่อที่ตั้งนั้นกับอีเมลที่ส่งมาเป็นคนละชื่อกัน ให้ท่านตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนได้เลยว่าอีเมลนั้นอาจจะเป็นการส่งข้อความมาของมิจฉาชีพดูดเงินในบัญชี
- สำหรับการทำธุรกรรมของธนาคารและสถาบันการเงินนั้น ทุกธุรกรรมควรจะเป็นการดำเนินการผ่านช่องทางซึ่งเป็นทางการของธนาคาร เช่น แอปของธนาคารนั้น หรือท่านจะต้องเข้าดำเนินการติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อลงนาม โดยการส่งอีเมลส่วนใหญ่สำหรับธนาคารนั้น มักจะเป็นการแจ้งสถาณะบัญชี สถาณะสินเชื่อและการส่งข่าวอัพเดตโปรโมชั่นต่าง ๆ โดยจะเป็นอีเมลที่ท่านไม่จำเป็นต้องตอบกลับหรือไม่ต้อง “กดคลิก” ใด ๆ ซึ่งหากท่านมีความกังวลหรือข้อสงสัย ท่านควรติดต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรงเท่านั้น
- สุดท้ายนี้ สิ่งที่สำคัญและสะดวกที่สุดสำหรับการป้องกันมิจฉาชีพดูดเงินในบัญชี คือ “อย่าหลงเชื่อ อย่ากด อย่ากรอกข้อมูล” ใด ๆ ที่จะเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับเว็ปไซต์ แอปพลิเคชั่น หรืออีเมลดูดเงินที่ไม่ทราบที่มา
ดังนั้น เมื่อท่านได้รับอีเมลจากธนาคาร สิ่งแรกที่ควรดำเนินการทุกครั้ง คือ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นการส่งอีเมลจริง ๆ จากธนาคารและสถาบันการเงินที่ท่านเป็นลูกค้าหรือสมาชิกจริง ๆ และหลังจากนั้น อ่านให้ละเอียดพร้อมทั้งตั้งสติ ซึ่งหากมีรายละเอียดที่ท่านมีความสงสัย สิ่งที่ดีที่สุดซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ทันทีนั้น ก็คือ ให้ท่านติดต่อเจ้าหน้าที่ Call Center เพื่อประสานงานตรวจสอบความถูกต้องและรายละเอียดต่อไปก่อนที่จะดำเนินการ โอนเงิน หรือจ่ายเงินใด ๆ ทั้งสิ้น
อ้างอิง 1